รถยนต์ติดแก๊สแอลพีจี ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

แก๊ส LPG เป็นอีกเชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับผู้ใช้รถยนต์ที่ชีวิตประจำวันมีความจำเป็นต้องเดินทางไกล และใช้รถยนต์ค่อนข้างมาก การติดแก๊ส LPG ช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย เนื่องจากแก๊สLPG มีราคาถูกกว่าน้ำมัน ราคาติดตั้งไม่สูงมาก มีศูนย์บริการหลากหลาย, ปั๊มบริการเติมแก๊สมีทั่วประเทศ, การใช้รถยนต์ที่ติดแก๊ส LPG ให้มีความปลอดภัยและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ผู้ใช้ควรหมั่นดูแล และนำรถเข้าตรวจเช็คกับศูนย์บริการที่ติดตั้งแก๊ส เป็นประจำตามระยะกำหนดตรวจเช็ค

สำหรับผู้ใช้รถยนต์ติดแก๊ส การดูแลและบำรุงรักษารถยนต์ติดแก๊สให้มีความพร้อมใช้งานและสภาพเครื่องยนต์มีความสมบูรณ์ลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ มีดังนี้

1.นำรถยนต์เข้าตรวจเช็คตามระยะ ที่ศูนย์บริการแก๊ส กำหนดตรวจเช็คทุกๆ 10,000 กม

ขั้นตอนในการตรวจเช็ค มีดังนี้

  • ตรวจเช็คสภาพอุปกรณ์แก๊ส ได้แก่ ตรวจเช็คแก๊สรั่ว, ตรวจเช็คสภาพของท่อยางแก๊ส และสภาพอุปกรณ์ส่วนควบฯ อื่นๆ
  • ตรวจเช็คค่าปริมาณการจ่ายแก๊ส (จูนแก๊ส) เพื่อความสมบรูณ์และลดการสึกหรอของเครื่องยนต์

2.เปลี่ยนอุปกรณ์ส่วนควบฯ ระบบแก๊ส เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด อุปกรณ์บางอย่างจำเป็นต้องเปลี่ยนตามอายุการใช้งาน (ประมาณทุกๆ 2ปี) และตามระยะทาง (40,000 - 50,000 กม.)

  • เปลี่ยนท่อยางยืดหยุ่น เช่น ท่อน้ำแก๊ส, ท่อยางหัวฉีด, ท่อยางแก๊ส, ท่อยางแวคคั่ม, กรองละเอียด, กรองหยาบ, และ คาริเบทหัวฉีดแก๊ส เพื่อให้การจ่ายเชื้อเพลิงได้สม่ำเสมอในทุกๆสูบ
  • เปลี่ยนหม้อต้ม และหัวฉีด หากใช้งานมาแล้วประมาณ 100,000 กม. ขึ้นไป
  • เปลี่ยนโอริงวาล์วถังแก๊ส ทุกๆ 5 ปี เพื่อป้องกันแก๊สรั่วบริเวณถังแก๊ส

3.ตรวจเช็ครถยนต์อย่างสม่ำเสมอ ตามคู่มือการใช้งานรถยนต์

  • ตรวจเช็คระดับน้ำหล่อเย็นในหม้อพักน้ำ และหม้อน้ำ หากพบความผิดปกติให้นำเข้าศูนย์บริการแก๊ส
  • เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง และเปลี่ยนกรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ ( 10,000 กม.)
  • ตรวจเช็คและเปลี่ยนหัวเทียนตามระยะ (รถยนต์ใช้แก๊ส LPG อายุการใช้งานหัวเทียนจะสั้นกว่าปกติ) ทั้งนี้ระยะการใช้งานหัวเทียน ขึ้นอยู่กับชนิดของหัวเทียนที่ใช้

4.ตรวจเช็ควาล์วและตั้งวาล์ว ทุกๆ 20,000 - 30,000 กม. สำหรับรถยนต์ยี่ห้อ HONDA และ ทุกๆ 60,000- 80,000 กม. สำหรับรถยนต์ยี่ห้อ TOYOTA

5.รักษาระดับน้ำมันในถัง ให้อยู่ในปริมาณ อย่างน้อย 1 ส่วน 4 ของถัง เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานปั๊มติ๊ก และควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันอยู่เสมอ ไม่ควรปล่อยให้น้ำมันค้างถัง


Print